Friday, 27 September 2013

Wat Arun วัดอรุณ

วัดอรุณ  Wat Arun

Wat Arun is a Buddhist monastery  under the royal patronage. วัดอรุณเป็นอารามในพุทธศาสนาในพระบรมราชูปถัมภ์    The monastery including the temple compound and the monk's living quarters  covers an area of  44,252 square meters or  10.9 acres. เนื้อที่พระอารามรวมทั้งพุทธาวาส(ที่ประกอบพิธีกรรม) และสังฆาวาส (ที่อาศัยของสงฆ์ ) ครอบคลุมพื้นที่ 44,252 ตารางเมตร หรือ 10.9 เอเคอร์ 

(พื้นที่ทั้งหมดของวัด รวมพุทธาวาสและสังฆาวาส  ไม่รวมที่ธรณีสงฆ์ที่ให้ประชาชนเช่าด้านนอก ระบุไว้ว่า  ๒๗ไร่ ๒งาน ๖๓ วา)


This monastery is wellknown  in English as the Temple of  Dawn.    Once it was generally called Wat Chaeng that means "The Temple of  Dawn";this name is referred to the one that was given by King Taksin.  

This monastery is wellknown  in English as the Temple of  Dawn. วัดนี้รู้จักกันดีในชื่อภาษาอังกฤษว่า วัดแห่งรุ่งอรุณ     Once it was generally called Wat Chaeng that means "The Temple of  Dawn";this name is referred to the one that was given by King Taksin.  ครั้งหนึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าวัดแจ้งซึ่งหมายถึงวัดแห่งรุ่งอรุณ ชื่อนี้อ้างตามชื่อที่พระเจ้าตากสินพระราชทานให้




The most outstanding spot is the central  prang,the pagoda in corn-cob shape.จุดเด่นที่สุดคือปรางองค์กลาง คือเจดีย์ที่เป็นรูปฝักข้าวโพดเรียกกันว่าปรางค์        The prang as seen today was constructed  in 1842, in the reign of  King Ram III. พระปรางค์อย่างที่เห็นทุกวันนี้สร้างขึ้นในค.ศ.1842 ในรัชกาลที่3     The construction lasted 5 years.การก่อสร้างกินเวลา5ปี   It is about 67 meters high. มันสูงประมาณ67เมตร   It was constructed to cover the smaller one which was 16 meters high  but who built it is not known. สร้างขึ้นมาเพื่อครอบปรางค์องค์เล็กซึ่งสูง16เมตรแต่ไม่ทราบว่าใครสร้าง.   Because  there is not  any evidence to indicate.เพราะว่าไม่มีหลักฐานใดระบุไว้เลย    This temple is older than the establishment of  Bangkok.วัดนี้เก่าแก่กว่าการสถาปนากรุงเทพ   During Ayutthaya period ,there was an older temple over here.ในช่วงสมัยอยุธยา มีวัดเก่าแก่กว่าอยู่ที่นี่  It was called Wat Makok. เรียกชื่อว่าวัดมะกอก  Wat Makok was replaced by a newer temple when King Taksin  existed this compound as the palace temple.  วัดมะกอกถูกแทนที่ด้วยวัดใหม่ตอนที่พระเจ้าตากสินทรงตั้งให้บริเวณนี้เป็นวัดในวัง

evidence (n)  หลักฐาน
establishment (n) การสถาปนา
หมายเหตุ : คำว่า compound ให้ระวังในการออกเสียง(pronunciation)  ในบทบรรยายข้างต้น compound เป็นคำนาม แปลว่า บริเวณ ให้ออกเสียงหนัก(stress)ที่พยางค์แรก ให้ความหมายว่า "บริเวณ" หรือ"ที่ซึ่งมีการล้อมรั้วบริเวณไว้  ถ้าออกเสียงผิดเพี้ยนไปออกเสียงหนักที่พยางค์ท้าย จะทำให้เปลี่ยนเป็นคำกริยา(verb) แปลว่า "ผสมกัน" หรือ"คลุกเคล้ากัน"  หรือไม่ก็เป็นคำนามอีกคำหนึ่ง แปลว่า "สารประกอบ"


ชื่อวัดมะกอกถูกเปลี่ยนเป็นวัดแจ้งในสมัยพระเจ้าตากสิน  The name Wat Makok was changed  to be Wat Chaeng in the reign of  King Taksin.    ต่อมาใช้เป็นวัดเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกตเป็นเวลา๕ปีในช่วงปีพ.ศ.๒๓๒๒-๒๓๒๗(ค.ศ.1779-1784) Later,it was used as a temple to enshrine the Emerald Buddha for 5 years  during 1779-1784. ดังนั้นวัดจึงเป็นที่รู้จักหรือเรียกกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า วัดพระแก้ว ในสมัยที่เป็นวัดที่เก็บพระแก้วหรือวัดประจำพระราชวัง       So,the temple was known or generally called the Emerald Buddha Temple in the period when it was the temple that kept the Emerald Buddha  or the temple  of  the palace . สถานะของวัดจึงเปลี่ยนจากวัดราษฎร์ที่มีสังฆาวาสมาเป็นวัดประจำพระราชวัง  Then the temple status was changed from a common temple that had monks' living quarters to be a particular temple of the palace.
หลังจากการสิ้นสุดของสมัยธนบุรี   เมืองหลวงก็ถูกย้ายไปฝั่งตะวันออกของบางกอก  After the end of  Thonburi , the  capital was moved to the eastern bank of  Bangkok.   ๒ปีหลังจากนั้นจากนั้นวัดอรุณก็หวนกลับคืนมาเป็น วัดที่มีสังฆาวาส        Two years after that Wat Arun  was returned to be a temple  with  monks' quarters   จากนั้นกำแพงบางส่วนที่เคยมีอยู่ในสมัยที่เป็นวัดประจำวังของพระเจ้าตาก ก็ถูกรื้อลงไป After that , some part of  the wall which used to be available  in  the period  when it was the royal temple of  King Taksin palace was dismantled (หรือจะใช้ว่า  After that , some part of the wall which used to be available in the period of its being the royal temple of  King Taksin  was dismantled.)

หมายเหตุ
กรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ แต่การสถาปนายังติดพันอยู่มากมายจากการที่พระเจ้าตากยังต้องส่งกองทัพไปปราบก๊กต่างๆ   ในโอกาสที่ส่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่๑ ในเวลาต่อมา)ไปปราบล้านช้าง-เวียงจันทน์  ได้นำพระแก้วมรกตกลับมาธนบุรี  ไว้ที่วัดอรุณเป็นเวลา๕ปี  เมื่อสร้างกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงได้๒ปีจึงให้ย้ายพระแก้วไปไว้ที่วัดพระแก้วในปัจจุบัน


พระปรางค์ประธานของวัดอรุณ อายุประมาณ๑๗๒ปี The principal prang of Wat Arun is about 172 years old      ใช้เวลาสร้าง๕ปี คือจากปีค.ศ.๑๘๔๒ ถึง ๑๘๔๗ It took 5 years to build from 1842-1847. ได้ผ่านการบูรณะมาหลายครั้งแล้ว It has undergone restoration several times.(หรือ It has been restored  many times.) สร้างในสมัยรัชกาลที่๒ แต่งานเริ่มไปเล็กน้อยเท่านั้น พระองค์ก็สวรรคตเสียก่อน It was built in the reign of  King Rama II but the work just  began a little  before the king passed away.(หรือ   no sooner had the work much begun than the king passed away)รัชกาลที่๓จึงดำเนินการต่อจนเสร็จ  Then King Rama III  kept on the construction to the end.  อันที่จริงแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่า ใช้เวลาสร้างถึง๔รัชกาลจึงสมบูรณ์แบบ อย่างที่เห็นในทุกวันนี้ แม้ว่าการก่อสร้างสำคัญๆจะทำในรัชกาลที่๓  Actually, we may say that it took four reigns (or four periods) to complete the temple as seen nowadays  though the  main construction was done in the reign of  King Rama III.

พระปรางค์ประธานองค์นี้สูง๖๗เมตรThis main prang is 67 meters high.  สร้างครอบทับพระปรางค์องค์เก่าสูง๑๖เมตรที่ไม่ได้ระบุว่าสร้างเมื่อใด  แต่มีอยู่ก่อนแล้วในสมัยอยุธยา It was built to cover the 16 meter old one that is not indicated when it was built   but it was available previously in Ayutthaya period.


        ฐานของพระปรางค์ประธานประกอบด้วย๔ชั้น The base of  the main prang consists of four levels.แต่ละชั้นมีตัวแบกอยู่มากมายEach level has a lot of bearers.    ที่ชั้นที่๑ มีรูปต้นไม้อยู่รายรอบ At the first level there are surrounding plants (หรือ trees)  ชั้นที่๒มีกินนรและกินรียืนสลับกันไป โดยมียักษ์อยู่ข้างบนThe second level has Kinnon,the mythical beings half man half bird  and Kinnaree the mythical half woman half bird standing alternatively  with the demons above.   ที่ชั้น๓ก็มีกินนรและกินรียืนสลับกันโดยมีกระบี่(ลิง)อยู่ข้างบนAt the third level,there are also Kinnon and Kinnaree with the monkeys above.   และที่ชั้น๔ก็มีกินรและกินรีเช่นกันโดยมีพรหมอยู่ข้างบน   And at the fourth level ,there are also Kinnon and Kinnaree with Bhramas,the deities above.  เหนือชั้นของพรพมมีซุ้มทั้ง๔ด้านซึ่งมีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ  Above the level of  Bhramas , there are four niches that have statues of  Indra the God on Erawan the elephant.. เหนือพระอินทร์ขึ้นไปมีรูปนารายณ์ทรงครุฑอยู่รอบๆ Above Indra there are the statues of  Vishnu the God  on Garuda the mythical bird.  ส่วนบนสุดมีนภศูลและมงกุฎ  The topmost  has a pinnacle and crown.

สรุป ลำดับของการเรียงดังนี้คือ  ต้นไม้-----> กินนร+กินรี------>ยักษ์------>กินนร+กินรี------>-ลิง------->  กินนร+กินรี--------> พรหม--------> พระอินทร์ทรงช้าง-------->  นารายณ์ทรงครุฑ------>นภศูล+มงกุฎ

แบบจำลองของพระปรางค์  เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น  เป็นการก่อสร้างตามความเชื่อในศาสนาที่ให้ พระปรางค์องค์กลางแทนเขาพระสุเมรุ (จึงมีสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น ยักษ์และลิง แบกภูเขาอยู่  เรียกว่าตัวแบก เรียกว่า bearer)    มีปรางค์บริวารอยู่ทั้ง๔ทิศ เรียกว่าปรางค์ทิศ ใช้แทนโลกที่มีมนุษย์อยู่ทั้ง๔โลก เรียกว่าทวีปทั้ง๔ ทั้งนี้รวมถึงโลกที่เราอยู่ เรียกชื่อว่าชมพูทวีป   พระปรางค์ย่อย ทั้ง๔ก็มีตัวแบก   ระหว่างปรางค์ทิศก็มีมณฑปแซมอยู่รวม๔องค์ เรียกว่ามณฑปทิศ สร้างเพื่อสื่อแทนเหตุการณ์สำคัญในพุทธศาสนา๔ครั้ง จึงมีพระพุทธรูปที่ต่างๆกันไปอยู่ข้างในคือ พระพุทธรูปปางประสูติ   พระพุทธรูปปางตรัสรู้   พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา และพระพุทธรูปปางปรินิพพาน

    รูปยักษ์แบก(หรือมารแบก) อยู่ที่ฐานชั้น๒ของพระปรางค์ประธาน
    The statues of  demon-bearer(หรือ The demon-bearer statues)  at the second base of the main prang
    รูปพรหมแบกอยู่ที่ฐานชั้น๔ของพระปรางค์ประธาน      และเหนือขั้นมีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
    The statues of Bhrama-bearer  are at the fourth base of the main prang  and above there are statues      of   Indra the God on Erawan the mythical elephant.

    พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ Indra the God on Erawan the mythical elephant (หรือ Indra the God mounted on  Aiyara the mythical elephant)

ข้างๆกำแพงวัดบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ มีกองบัญชาการกองทัพเรือ Beside the wall of the temple around the river bank  ,there is the head quarters of the royal navy   เคยเป็นโรงเรียนนายร้อยทหารมาก่อน(โรงเรียนนายเรือ) It used to be a cadet school (navy-cadet).  และก่อนหน้านั้นในสมัยกรุงธนบุรี มันเป็นที่ตั้งของพระราชวังพระเจ้าตากสินAnd formerly in Thonburi period , it was the site of  King Taksin palace.  ตำหนักที่ประทับของพระเจ้าตากสินก็ยังคงอยู่ข้างในพื้นที่กองทัพเรือแห่งนี้ The residence of King Taksin  still survives  in the area of  the navy base.

ในซุ้มที่พระปรางค์ทิศมีรูปพระพายทรงม้า Inside  a niche of  the corner prang ,there is a statue of Vayu, the God of  Wind.



มีศาลาริมน้ำทั้งหมด๖หลัง  There are altogether 6 riverside pavilions.  เป็นแบบจีน They are in Chinese styles.   สร้างสมัยรัชกาลที่๓They were built in the reign of  King Rama III.    เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าพระองค์ทรงโปรดศิลปะจีนมาก It is generally known that he favored the Chinese art very much.  ดังนั้นในสมัยพระองค์จึงทรงให้สร้างสิ่งก่อสร้างแบบจีนเป็นจำนวนมาก Then in his reign , he had a lot of  construction made in Chinese style.

หมายเหตุ : ทบทวนการใช้ไวยากรณ์ในความหมายว่า "ใครให้อะไรสร้าง(หรือถูกกระทำขึ้นมา)ดังนี้
สูตร คือ ใคร+have/has/had+อะไร+V3
ตัวอย่าง
-รัชกาลที่ ๓ ให้สร้างศาลาริมน้ำ ๖หลัง
King Rama III had six riverside pavilions built.
-พระเจ้ากรุงธน(เรียกอย่างทางการ)ให้ผนวกวัดอรุณเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวัง
King of  Thonburi had Wat Arun merged to be a part of  the palace.
-รัชกาลที่ ๓ ให้เสริมมงกุฎเหนือนภศูลที่ยอดพระปรางค์ประธาน (นำมาจากวัดนางนอง)
King Rama III had the crown (headdress)  added above the pinnacle of  the main Prang.




ถ้าหากเดินทางมาที่วัดจากฝั่งท่าเตียน แล้วเดินเข้าสู่ประตูวัดจากประตูใกล้ท่าน้ำ จะสังเกตุเห็นหุ่นยักษ์ตัวใหญ่สูงประมาณ๘เมตรทางขวามือตรงประตูทางเข้า(นั่นคือประตูนำสู่อุโบสถ  และเป็นประตูสำคัญสำหรับพระมหากษัตริย์ใช้เสด็จเข้าในโบสถ์เมื่อมีพระราชพิธี)   มีหุ่นยักษ์๒ตน  สีเขียวคือทศกัณฑ์  สีขาวคือสหัสสะเดชะ
หุ่นทั้งสองนี้เป็นหุ่นของยักษ์  These two statues are the demon ones. ตัวสีเขียวชื่อทศกัณฑ์ ส่วนตัวสีขาวชื่อสหัสสะเดชะ The green one  is named Tosakan(หรือRavana) whereas the white one is named  Sahatsadecha.  ยักษ์ทั้งสองใช้เป็นยามเฝ้าวัด Both of  the demons are used as the temple guardians.  สูงประมาณ๘เมตรThey are about 8 meters high.  สร้างครั้งแรกในสมัยรัชกาล๓ หรือประมาณ ๑๘๐ปีมาแล้ว   แต่ได้รับการปฏิสังขรณ์มาหลายครั้งแล้ว They were built for the first time in the reign of  King Rama III or about 180 years ago.   โดยเฉพาะตัวสีขาวเป็นของที่สร้างใหม่ประมาณ๖๕ปีมาแล้ว  เพราะมันพังลงมาเนื่องจากถฟ้าผ่า Particularly, the white one is the rebuilt one about 65 years ago because it collapsed due to thunderbolt.
                                                                     Tosakan or  Ravana

                                                                            Sahatsadecha

เมื่อเดินตรงไปทางหุ่นยักษ์เฝ้าตรงประตูที่จะเดินเข้าไปทางอุโบสถ(ทศกัณฑ์และสหัสเดชะ)ให้สังเกตุด้านซ้ายมือเยื้องไปทางข้างหลังยักษ์ตัวสีเขียว(นั่นก็หมายถึงทศกัณฑ์)  จะพบรูปปั้นของผู้ชายนั่งทำสมาธิ(เป็นหุ่นปิดทอง) นั่นคือรูปแทนนายนก          ส่วนทางด้านขวาของเราที่หันหน้าเข้าหารูปยักษ์ จะมีอีกศาลาหนึ่งอยู่เยื้องไปทางด้านหลังของยักษ์ตัวสีขาว จะมีรูปผู้ชายอีกคนหนึ่งในท่านั่งพนมมือ นั่นคือรูปแทนนายเรือง   ทั้งนายนกเรืองและนายยก เป็นฆราวาสที่ปฏิบัติธรรมจนเข้าใจผิดไปเองว่าตัวเองบรรลุธรรมหรือบรรลุมรรคผลแล้ว    ทั้ง๒จึงกระทำอัตวินิบาตกรรม (ฆ่าตัวตาย) โดยการเผาตัวเอง แต่บุคคลทั้ง๒ไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่ประการใด  และกระทำการในต่างวาระกัน เพียงแต่เหมือนกันคือ เหตุการณ์ของทั้งสองคนนี้เกิดขึ้นในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น   ต่อมาจึงได้มีคนทำรูปให้เพื่อระลึกถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น     ( เมื่อพิจารณาจากคำสอนในศาสนาแล้ว  การฆ่าตัวตายถือเป็นบาปหนัก  ถึงขนาดไม่มีโอกาสได้เกิดเป็นมนุษย์อีกนานแสนนาน  ก็คือเรียกว่าเป็นกัปป์เป็นกัลป์  หากจะสื่อเป็นภาษาอังกฤษให้นักท่องเที่ยวเข้าใจ  ขอแนะนำให้ใช้คำว่า AEON)

                                                                         รูปนายเรือง
                                                                       นายนก

หมายเหตุสำคัญ
เมื่อเข้าไปเยี่ยมชมสถานที่จริง  จะพบว่ามีป้ายทำด้วยกระดาษ อธิบายว่า คนที่นั่งพนมมือคือนายนก และคนที่นั่งขัดสมาธิคือนายเรือง    ความขัดแย้งนี้มีอยู่ในแหล่งข้อมูลที่พิมพ์แจกจ่ายหรือจำหน่ายกันในหลายแห่ง    ทั้งนี้ขอยึดข้อมูลของ คุณเอนก นาวิกมูล นักค้นคว้าระดับประเทศคนหนึ่ง  เพราะคุณเอนกมีหลักฐานเดิมอยู่เป็นภาพถ่าย    ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็แสดงว่าเกิดจ่ากความชุ่ยหรือสะเพร่าของผู้ควบคุมการบูรณะวัดที่ปล่อยปละละเลยให้มีการสลับชื่อกัน(เข้าใจว่าเป็นเพราะคนงานก่อสร้างที่รับเหมาในการบูรณะครั้งใดก็ไม่ทราบ)

รูปผู้ชายในท่านั่งพนมมือสร้างเพื่อแทนฆราวาสคนหนึ่งชื่อนายเรือง    The statue of a man in the posture of sitting to worship is made to represent a layman named Mr.Ruang.  เขาเป็นบุคคลที่กระทำอัตวินิบาตกรรมโดยการเผาตนเอง He is a person who did self-immolation by burning himself.   เขาเข้าใจผิดว่าเขาได้บรรลุธรรมแล้ว He misunderstood that he had attained enlightenment.   เขาจึงกระทำการเช่นนั้น ตอนเวลาพลบค่ำ โดยมีคนดูเป็นพยานร่วม500-600คน  Then he did such a thing at twilight time with 500-600 people to witness.เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่๑ ในปี พ.ศ.๒๓๓๓(ค.ศ.1790). The event took place in the reign of  King Rama I in 1790.  หลังจากการตายของเขาแล้ว  ชาวบ้านจึงให้สร้างรูปนี้ให้เขา After his death,the villagers had the statue made  for him

หมายเหตุ  : สำหรับคำถามว่า ทำไมทำรูปนายเรืองเป็นรูปพนมมือ  คงเป็นเพราะต้องการให้สอดคล้องกับที่ระบุไว้ในเอกสารว่า  นายเรือง "นั่งพับเพียบพนมมือ"

Vocabulary 
self-immolation    (n)  การทำลายตนเอง
attain enlightenment   บรรลุธรรม , ตรัสรู้

รูปผู้ชายในท่านั่งทำสมาธิสร้างเพื่อแทนฆราวาสอีกคนหนึ่งชื่อนายนก The statue of  a man in the position of  sitting doing meditation (หรือ sitting to do meditation) is built to  represent a layman named Mr.Nok.   เขาก็เป็นอีกคนหนึ่งที่กระทำอัตวินิบาตกรรมโดยการเผาตนเอง He was another person who did self-immolation by burning himself.  แต่เป็นคนละเหตุการณ์กัน But it was a different event. เขากระทำการดังกล่าวใต้ต้นโพหน้าอุโบสถเก่า  He did such a thing  under the Bodhi tree(Pipal tree)  in from of  the old main chapel.  เป็นสมัยรัชกาลที่๒ It was in the reign of  King RamaII.  ชาวบ้านก็สร้างรูปนี้ให้เขาเหมือนกันThe villagers also made this statue for him.

เมื่อเดินผ่านตรงเข้าไปข้างในก็จะพบพระอุโบสถ  ถ้าไม่แน่ใจก็ให้สังเกตุว่ามีในเสมาล้อมหรือไม่  ถ้ามีก็ไม่ผิดแน่  อีกอย่าง กล่าวกันว่าซุ้มเสมาที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยก็คือซุ้มเสมาวัดอรุณนี่เอง เพราะทำอย่างประณีตมาก

พระอุโบสถสร้างในสมัยรัชกาลที่๒ The main chapel was built in the reign of  King Rama II.    หน้าบันแสดงรูปเทวดายืนถือพระขรรค์  The gable shows a standing  deity holding a sword.   ข้างในพระอุโบสถมีพระประธานชื่อว่าพระพุทธธรรมมิศราชโลกธาตุดิลก Inside the main chapel , there is the presiding Buddha image named Phraphutthathammisarat Lokkathatdilok.     หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่๒ It was cast  in the reign of  King Rama II.   ว่ากันว่าพระพักตร์ของพระพุทธรูปทำโดยรัชกาลที่๒   It is said that the face of  the presiding Buddha image was made by  the king.    ฐานชุกชีของพระประธานเก็บพระสรีรางคารของรัชกาลที่๒ The base (pedestal) of the presiding Buddha image contains the crematory ashes of  the king.  วัดนี้จึงเป็นวัดประจำรัชกาลที่๒ Then this  temple is the symbolic temple of  King Rama II (หรือ the temple in honor of  King Rama II  หรือ the insignia temple of  King Rama II).



หน้าบันพระอุโบสถแสดงรูปเทวดาถือพระขรรค์ The gable of the main chapel shows a deity holding a sword.     

ซุ้มเสมาของพระอุโบสถวัดนี้ถือว่าเป็นซุ้มอุโบสถที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
The shelter of  the marker stone of this temple is regarded as one of the most beautiful in Thailand.

เมื่อเดินเข้าไปในเขตอุโบสถ จะพบรูปช้างหล่อด้วยทองแดง(บางตำราบอกว่าทองเหลือง)   แต่สิ่งที่สนับสนุนข้อมูลว่าช้างนี้น่าจะทำมาจากทองแดงเป็นหลักคือสีเขียว เพราะสีของสนิมทองแดงคือสีเขียว

รอบๆอุโบสถ มีรูปช้าง๘รูปในท่าทางต่างๆกัน Around the main chapel ,there are 8 elephant statues in different attitudes.  สร้างในสมัยรัชกาลที่๓ ในปี พ.ศ.๒๓๘๙ (ค.ศ.1846) เพื่อแสดงการสักการะพระราชบิดาของพระองค์คือรัชกาลที๒ They were made in the reign of  King Ram III in 1846 to do offering to his father,King Rama II.    เพราะพระองค์ได้พระนามว่าพระเจ้าช้างเผือก  เนื่องจากว่ามีช้างเผือกหลายช้างที่ถูกพบในสมัยของพระองค์  He is named "The King of  White Elephant"  because there were many white elephants which were discovered in his reign.  


ในระเบียงรอบๆพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ๑๒๐องค์
In the gallery of  the main chapel, there are 120 stuccoed Buddha image in the attitude of  subduing Mara ,the evil spirit.
         

โบสถ์น้อยและวิหารน้อย The subsidiary main chapel and the subsidiary image hall(หรือ The little main chapel and the little image hall)
เมื่อเดินสู่ทางเข้าหลักสู่พระปรางค์ หันหน้าเข้าสู่พระปรางค์(ก็คือหันหลังให้แม่น้ำ) จะพบอาคารขนาดย่อม๒หลังพอดีตรงทางเข้า ลักษณะรูปทรงเหมือนกัน  หลังที่อยู่ทางขวาคือโบสถ์น้อย เป็นโบสถ์หลังเก่าสมัยที่ยังไม่ได้สร้างโบถ์หลังปัจจุบัน(ที่สร้างสมัยรัชกาลที่๒)  และหลังที่อยู่ทางซ้ายคือวิหารน้อย ทั้งโบสถ์น้อยและวิหารน้อยมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา   เชื่อกันว่าวิหารถ์น้อยเคยเป็นที่เก็บพระแก้วมรกตในสมัยพระเจ้าตากสิน(เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หรือรัชกาลที่๑ในสมัยต่อมา ได้อัญเชิญพระแก้วกลับมาจากลาว(เวียงจันทน์))  แต่ข้อสันนัษฐานที่ต่างกันบอกว่าพระแก้วถูกเก็บไว้ในหอพระแก้วซึ่งถูกรื้อทิ้งออกไปแล้ว  เคยอยู่ใกล้ๆพระปรางค์   และโบสถ์น้อยเคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าตากสินในช่วงปลายที่พระองค์ถูกพระยาสรรค์ยึดอำนาจ  แล้วพระองค์จึงบวชเป็นพระภิกษุที่วัดนี้ระยะหนึ่ง   ในปัจจุบันนี้ยังมีแท่นนอนที่เชื่อกันว่าเป็นแท่นบรรทมของพระเจ้าตากสินในครั้งที่บวชเป็นพระ

หอ๒หอที่เราเห็นอยู่ตรงทางเข้าสู่พระปรางค์นี้เป็นของเก่าที่มีอยู่ในสมัยอยุธยา The two chapels that we see at the entrance of  the prang are the old ones which were  available  in Ayutthaya period.  หลังทางขวาเคยเป็นพระอุโบสถในสมัยก่่อน The one on the right used to be the main chapel in the old days. มีแท่นบรรทมซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเป็นของพระเจ้าตากสินขณะที่พระองค์บวชเป็นพระ There is a bed which is believed to belong to  King  Taksin while he was a monk.    หลังทางซ้ายเป็นวิหารเก่าในสมัยอยุธยาเช่นกัน   เชื่อกันว่าเคยเก็บพระแก้วมรกตในสมัยพระเจ้าตาก The one on the left is also  the old image hall in Ayutthaya period.  It is believed that it used to keep the Emerald Buddha image during the reign of  King Taksin.

พระบรมราชนุสาวรีย์ของรัชกาลที่ ๒  The monument of  King Rama II

อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่รัชกาลที่๒ โดยคณะบุคคลที่สืบเชื้อสายมาจากรัชกาลที่๒หรือทายาทลูกหลานในรัชกาลที่๒นั่นเอง This monument is built to dedicate to  King Rama II by the batch  (หรือ the group ) who are lineage  or the off-springs of   King Rama II. เป็นของใหม่ เพราะสร้างในสมัยใหม่นี้ It is a new object(thing) because it was built in this modern time.   ด้านหน้าพระบรมรูปมีรูปช้างสำคัญ๓ช้าง The front of the monument  has three statues of  significant elephants.  เป็นช้างมงคลที่พบในสมัยพระองค์They are the auspicious elephants that were discovered in  his reign. ช้างทั้ง๓ช้างนี้นำมาจาก ลาวล้านช้าง(เมืองโพธิสัตว์) และ ลาวล้านนา ได้แก่ เชียงใหม่และน่าน (ในสมัยก่อน"ลาว"มี๒ส่วนคือ ลาวล้านนา และลาวล้านช้าง)  These three elephants were brought from Lao-Lanchang(บางสำเนียงว่า Lao-Lansang) and Lao-Lanna namely Chiangmai and Nan. พระองค์มีช้างสำคัญมากจนได้รับการขนานพระนามว่า "พระเจ้าช้างเผือก" He had so many significant elephants that he was named "The King of White Elephant".

Vocabulary 

layman     (n)  ฆราวาส   (ออกเสียงว่า คะ-รา-วาส  แต่มีคนไทยมากมายแม้แต่ผู้ประกาศข่าวเองก็ออกเสียงกันผิดเป็น คา-ระ-วาส)
ฆราวาส แปลว่า ผู้ครองเรือน  
auspicious  (adj)  เป็นมงคล
off-spring   (n)     ลูกหลาน
batch          (n)    คณะ,กลุ่ม,พวก,พรรคพวก
significant   (adj)  สำคัญยิ่ง


Latest updated : 31th Aug 2020